ใช้ .htaccess block xmlrpc เปิดใช้แค่ jetpack

 

# Block WordPress xmlrpc.php attacks on Apache
<Files xmlrpc.php>
order deny,allow
deny from all
# Automattic’s netblocks
allow from 216.151.209.64/26
allow from 66.135.48.128/25
allow from 69.174.248.128/25
allow from 76.74.255.0/25
allow from 216.151.210.0/25
allow from 76.74.248.128/25
allow from 76.74.254.0/25
allow from 207.198.112.0/23
allow from 207.198.101.0/25
allow from 198.181.116.0/22
allow from 192.0.64.0/18
allow from 66.155.8.0/22
allow from 66.155.38.0/24
allow from 72.233.119.192/26
allow from 209.15.21.0/24

</Files>

วิธีเลือกธีม WordPress By Wpthaiuser.com

การเลือกธีม WordPress เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาพิจารณามากที่สุดแล้วในการทำเว็บไซต์ด้วย WordPress เพราะหากเป็นการทำเว็บจริงจังแล้วเราก็อาจจะไม่อยากเปลี่ยนธีมบ่อยๆ แม้ว่าการเปลี่ยนธีม WordPress ไม่ใช่เรื่องยากก็ตาม แต่การปรับแต่งตรงนู้นตรงนี้ของเดิมให้เข้ากับธีมใหม่นั้นก็ค่อนข้างจุกจิก เปลี่ยนแต่ละทีก็ต้องเซ็ตระบบใหม่จนกว่าจะลงตัว

แต่ละธีมนั้นมีการตั้งค่าพิเศษเฉพาะตัว แล้วแต่ว่าคนที่เขียนหรือสร้างธีมนั้นๆ จะใส่ลูกเล่นและการตั้งค่าอะไรมาบ้าง ดังนั้นเราอาจจะไม่สามารถตั้งค่าแบบเดียวกันในธีที่ต่างกันได้ ยกเว้นธีมที่มาจากคนเขียนคนเดียวกันก็จะมีการตั้งค่าที่คล้ายกัน การตั้งค่านี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า Theme Options นั่นเอง WordPress พยายามผลักดันให้คนเขียนธีมหันไปใช้ Customizer มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้งานและลดการตั้งค่าซับซ้อนอื่นๆ ลง

theme-options.png

เราสามารถแบ่งประเภทของธีม WordPress เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

ธีมเฉพาะด้าน

ธีมเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อการใช้แบบจำเพาะเจาะจงสำหรับเว็บไซต์แต่ละแนว เช่น เว็บไซต์แมกกาซีนหรือเว็บประเภทข่าว, เว็บไซต์แนว protfolio, เว็บแนวบล็อก, เว็บไซต์แนว Real Estate, eCommerce เป็นธีมปรับแต่งพิเศษสำหรับปลั๊กอิน WooCommerce เป็นต้น ธีมเหล่านี้มีการออกแบบและเพิ่มฟังชั่นพิเศษมาสำหรับเว็บแต่ละด้านอยู่แล้ว ทำให้สะดวกสบายในการใช้งานมากยิ่งขึ้น เว็บขายของออนไลน์ก็จะมีหน้าร้านสวยๆ ต่างจากการใช้ปลั๊กอินอย่างเดียว เว็บโรงแรมก็อาจจะมีระบบจองมาให้ด้วย เว็บเกี่ยวกับการศึกษาก็อาจจะมีระบบจัดการสมาชิกหรือห้องเรียนมาให้ เป็นต้น

นอกจากนี้หลายธีมยังเพิ่มความสามารถในด้านความยืดหยุ่นเข้าไปอีก โดยการใส่ Page Builder Plugin เข้าไป เพื่อให้เราสามารถที่จะออกแบบหน้าบางหน้าเป็นพิเศษได้ เช่น Extra ต่อยอดจาก Divi ที่เป็น Page builder theme อยู่แล้ว แต่นำมาสร้างเป็นธีมเฉพาะด้านสำหรับทำบล็อก ทำให้มีระบบ Divi builder มาในตัว หรือ News Paper เว็บสำหรับทำข่าวหรือนิตยสารนั้นก็จะใส่ปลั๊กอิน Visual Composer ปลั๊กอิน Page Builder ตัวดังเสริมมาให้ด้วย

 

Newspaper ธีมเฉพาะด้านแนวข่าวสารแมกกาซีน

มีเว็บไซต์มากมายที่ขายธีม WordPress โดยเราสามารถที่จะค้นหาตามหมวดหมู่ของเว็บที่ต้องการได้ โดยการใช้งานภายใต้เงื่อนไข เช่น สามารถใช้ 1 ธีม/ 1 เว็บเท่านั้น เช่น Themeforest.net ที่เป็นเจ้าใหญ่ที่สุดในตลาด โดยมีนักเขียนธีมทั่วโลกส่งธีมขึ้นไปขาย

themeforest

นอกจากนี้ยังมีเว็บสร้างธีมที่เขียนธีมขึ้นมาขายเองโดยเฉพาะ ข้อแตกต่างคือเว็บจำพวกนี้สามถใช้ได้แบบไม่จำกัด แถมยังมีการขายแบบแพเกจหรือที่เรียกว่า Plan โดยเป็นการขายแบบเหมารวมทั้งเว็บเป็นต้น เช่น Elegantthemes.com เริ่มต้นที่ $69 ได้ 87 ธีม หรือหากต้องการซื้อแบบแยกเฉพาะธีมเดียวก็ได้ เช่นที่ Mythemeshop.com เป็นต้น

Elegantthemes

Mythemeshop

เราไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสมอไป เพราะธีมเฉพาะด้านบางแนว เช่น บล็อก แมกกาซีน portfolio นั้น มีคนเขียนให้ใช้ฟรีเป็นจำนวนมาก หาได้ง่ายๆ โดยการเสริช Google คำว่า WordPress Free Theme แล้วตามด้วยประเภทของธีมที่ต้องการ แต่ควรเลือกจากแหล่งที่ปลอดภัยไว้ก่อน เช่น เว็บที่ขายธีมอย่าง Mythemeshop เอง เขาก็จะมีส่วนของ Free ให้เราได้ทดลองใช้งานอยู่แล้ว ใช้งานได้ดีเช่นกัน หรือในขั้นตอนการติดตั้ง WordPress เขาก็มีธีมฟรีมากมายจาก WordPress.org เอง ให้เราได้เลือกใช้งานได้ฟรีๆ อ่าน การติดตั้งธีม WordPress แต่ระวังอย่าใช้ธีมผิดลิขสิทธิ์ที่แจกตามเว็บทั่วไป เพราะอาจฝังโค้ดอันตรายไว้ก็ได้

ข้อเสียของธีมเฉพาะด้าน

  • หากใช้ธีมเดียวกันทำเว็บหลายเว็บ หน้าตาของเว็บจะคล้ายกันมากๆ เพราะไม่สามารถที่จะปรับแต่งได้ถึงขีดสุด เวลาเปิดดูเว็บบางเว็บแทบจะบอกได้เลยว่าใช้ธีมไหน (เราพูดถึงในกรณีที่เราเป็นคนธรรมดาที่ไม่ได้รู้เรื่อง CSS ในการปรับแต่งธีม) ถ้าทำเว็บใหม่ก็ซื้อธีมใหม่จะดีกว่า
  • ธีมสำหรับเว็บบางประเภทมีเยอะมากๆ เยอะจนอาจจะทำให้มันดูคล้ายๆ กัน แต่ระบบหลังบ้านอาจจะคนละเรื่องเลยก็ได้
  • การปรับแต่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะบางธีมอาจสร้าง Theme Options มาแบบน่าปวดหัว เพราะธีมเฉพาะด้านแต่ละแนวก็มีระบบที่ต่างกัน บางแนวที่มีระบบพิเศษเพิ่มเข้ามามากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีการตั้งค่ามากเท่า นั้น ต่างจากธีมแบบ Page Builder ที่อาจจะเยอะเฉพาะโมดูล แต่ Theme Options จะไม่ซับซ้อนมากนัก เพราะเน้นจัดการ Page อย่างเดียว ไม่ได้มีระบบเฉพาะด้านที่ต้องตั้งค่าเป็นพิเศษ

Page Builder Theme

ธีมประเภทนี้ ไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องใช้กับเว็บอะไร มีจุดเด่นที่ลูกเล่นและดีไซน์ที่ทำไว้เป็นชุดๆ เรียกว่าโมดูล (Module) ซึ่งเราก็นำโมดูลเหล่านี้แหละไปประกอบกันออกมาเป็นเว็บให้ได้ตามที่ออกแบบ ไว้ Page Builder จะมีความยืดหยุ่นสูงมาก คือนอกจากเราจะสามารถปรับแต่งทั่วไปโดยไม่ต้องรู็โค้ด เพียงแค่คลิกๆ ลากๆ ได้แล้ว หากรู้ CSS หน่อย ก็จะยิ่งสามารถช่วยให้เราปรับแต่งได้ละเอียดขึ้นไปอีก

หลักการทั่วๆ ไปนั้นคล้ายๆ กัน คือ แบ่งแถว (row) และ คอลัมน์ (Column) ให้ได้เลย์เอ้าท์และการจัดวางในแบบที่เราร่างไว้ แล้วแทรกโมดูลต่างๆ ที่ระบบมีให้ แล้วปรับแต่งอีกทีให้เหมือนกับที่ดีไซน์ ทั้งนี้ดีไซน์ของแต่ละธีมก็อาจจะต่างกัน แต่โดยส่วนมากแล้วสามารถที่จะปรับแต่งได้คล้ายๆ กัน

divi-builder

ตัวอย่าง Page Builder ของธีม Divi

 

Divi

Avada

X | The Theme

BeTheme

Enfold

Jupiter

The7

01_main_image.__large_preview

Total

ข้อเสียของการใช้ Page Builder Theme

  • โมดูลส่วนใหญ่จะมีเฉพาะพวกที่คนใช้เยอะๆ ไม่สามารถเพิ่มได้ง่ายๆ
  • ถึงแม้จะขึ้นเว็บได้เร็ว แต่ถ้าปรับแต่งน้อย ก็จะทำให้เว็บแต่ละเว็บหน้าตาคล้ายกันไปหมด ดังนั้นผู้ใช้งานควรมีความสามารถในการออกแบบ รู้ว่าจะเปลี่ยนตรงไหนเพื่อสร้างความต่างให้เว็บ เราอาจลดเวลาในการสร้างธีมแต่เอาเวลาตรงนี้มาทุ่มให้กับการปรับแต่งแทน ถ้าทำให้คนอื่นจำไม่ได้ว่าเราใช้ธีมอะไรถือว่าประสบผลสำเร็จ
  • ธีมที่ฝัง Page Builder Plugin เข้าไปแทนการสร้างระบบของตัวเองนั้นเมื่อมีการอัพเดตจำเป็นต้องพึ่งพาหรือรอ การอัพเดตจากคนที่เขียนปลั๊กอินอีกที
  • ธีมประเภทนี้ยังคงแข่งกันในการลดขนาดเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น เพราะบางระบบก็ค่อนข้างหนักและช้าพอสมควร
  • เมื่อมีการเปลี่ยนธีม ส่วนใหญ่แล้วธีมหรือปลั๊กอิน Page Builder จะคลายร่างสวยๆ ออกมาเป็น Shortcode ยังกับรหัสลับดาวินชีทันที จะเป็นเรื่องโกลาหลมากถ้าหากคุณใช้ Page Builder นี้กับ Post จำนวนมาก ดังนั้นควรใช้ตามชื่อมัน คือใช้ทำ Page ที่ต้องการให้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษเท่านั้น นอกเสียจากว่าคุณไม่คิดจะเปลี่ยนธีมอีกเลย

 

ตัวอย่าง shortcode ของธีม Divi

ตัวอย่าง shortcode ของธีม Divi

ขั้นตอนในการเลือก WordPress Theme ให้ถูกใจ

  1. รู้ว่าตัวเองกำลังจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร
  2. เลือกสไตล์ของเว็บที่ชอบ แล้วเลือกเอาซักแนว เช่น แบบเรียบง่าย หรือแบบสีสัน ลูกเล่น
  3. ดู Features ต่างๆ ของธีมที่เราเล็งๆ ไว้ ว่ามีฟังชั่นพิเศษอะไร สามารถปรับแต่งตรงไหนได้บ้าง จุดเด่น จุดด้อยที่เรารับได้ การต่อยอดในอนาคต
  4. รู้จักวางแผนล่วงหน้า เช่น ถ้าตรงนี้ธีมเราไม่มีแล้วเราจะสามารถหาอะไรมาทดแทนได้ มีปลั๊กอินไหนที่จะขยายความสามารถตรงนี้ได้บ้าง หากลองหาแล้วไม่เจอธีมที่ตรงตามความต้องการจริงๆ (น้อยมากที่จะตรงเป๊ะ) การรู้ว่าเราจะไปต่อยังไงจะช่วยให้เรามีหนทางอยู่เสมอ
  5. ธีมเฉพาะด้านมักจะใช้งานง่ายกว่า และตรงเป้ากว่าหากเว็บที่เราจะทำนั้นมีธีมเฉพาะด้านอยู่ก็ให้ลองดูเป็นอันดับแรก
  6. ดู Demo ของธีม ซึ่งก็คือตัวอย่างขณะออนไลน์จริงนั่นเอง บางธีมจะมีตัวอย่างหลายแบบเพื่อให้เราพอนึกภาพออกว่ามันสามารถปรับแต่งได้ยังไงบ้าง
  7. ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขการใช้งานและซัพพอร์ต หรือบริการเสริมอื่นๆ เช่น สามารถอัพเดตได้นานเท่าไหร่ มีบริการช่วยเหลืออย่างไร สามารถใช้ได้กี่เว็บ เป็นต้น
  8. หากเขามีธีมฟรีก็ลองโหลดมาเล่นดูซักตัว ผู้ขายบางเจ้ามักจะใช้ระบบเดียวกันกับทุกธีม เราอาจจะได้เห็นว่าการตั้งค่าการใช้งานต่างๆ นั้นทำได้ยากง่ายแค่ไหน
  9. ถ้าเป็นไปได้ ให้พยายามดูฟีดแบคจากคนที่เราจะซื้อด้วย อาจจะใช้วิธีการเสริช หรืออ่านจากการตอบคอมเม้นท์หรือเว็บบอร์ดถ้าเขาเปิดให้เข้าดูได้ เช่น Themeforest เราสามารถที่จะดูคอมเม้นท์ได้หมด
  10. สุดท้ายแล้ว หากไม่ได้ตรงตามที่ต้องการจริงๆ ทั้งในเรื่องของการออกแบบและระบบที่เราต้องการ อาจจะต้องพึ่งมืออาชีพสร้างให้โดยเฉพาะ แม้จะพูดได้ว่า WordPress สามารถที่จะทำเว็บได้ทุกเว็บก็จริง แต่บางทีการเขียนเองเพื่อการใช้งานเฉพาะก็สะดวกและง่ายกว่าการนั่งปรับแต่ง หากทางเลือกนี้เป็นทางเลือกสุดท้าย ก็ควรเตรียมทุนไว้ให้ดี และข้อตกลงต้องชัดเจนทั้ง 2 ฝ่ายนะคะ

ทำความรู้จักกับ Themeforest By Wpthaiuser.com

สำหรับคนทำเว็บไซต์ด้วย WordPress แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยิน Themeforest.net เว็บไซต์ที่ว่านี้ คือแหล่งซื้อขายธีม WordPress ที่ใหญ่ที่สุดในโลก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Themeforest กันค่ะ

Themeforest เป็นเว็บไซต์ในเครือของ Envato Market ที่มีตลาดดิจิตอลอยู่หลายอย่าง เช่น Codecanyon เน้นสคริปต์และปลั๊กอินต่างๆ, Videohive ขายวิดีโอ, Audiojungle ขายไฟล์เสียง, graphicriver ขายกราฟฟิค, Photodune ขยายภาพ, 3docean ขายโมดูล 3 มิติ เราสามารถใช้แอคเค้าเพียงอันเดียวเพื่อสามารถซื้อสินค้าได้จากร้านค้าใน เครือทั้งหมด เช่น ซื้อธีมจาก Themeforest กราฟฟิคประกอบเว็บจาก Graphicriver ปลั๊กอินจาก Codecanyon ไฟล์วิดีโอพรีเซ้นเทชั่นจาก Videohive เป็นต้น

Themeforest

 

themeforest

 

เรา สามารถเป็นได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้บน Themeforest โดยจะเรียกคนที่ขายธีมบน Themeforest ว่า Author หรือผู้เขียน แทนการใช้คำว่า Seller เพราะจริงๆ แล้ว Themeforest ต่างหากที่เป็นผู้ขาย

Themeforest ไม่ได้มีเฉพาะธีมของ WordPress เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง CMS อื่นๆ ด้วย เช่น Opencart, Drupal หรือแม้แต่เทมเพลตอื่นๆ เช่น อีเมลเทมเพลต เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรดูให้ดีๆ ก่อน อย่าลืมเลือกหมวดหมู่ของสิ่งที่เราจะซื้อ เคยมีคนซื้อผิด ซื้อธีม Opencart เพื่อจะมาใช้กับ WordPress มาแล้ว ซึ่งมันใช้ด้วยกันไม่ได้

การดูธีมของ WordPress นั้นก็ให้เลื่อนเม้าส์ไปเมนู WordPress เสียก่อนนะคะ จะมีหมวดหมู่ย่อยให้เลือกตามประเภทของธีม

หรือ เราอาจจะคลิกที่เมนู WordPress โดยตรงเลยก็ได้ จะเป้นการเปิดอีกหน้าหลักของ WordPress ขึ้นมา ซึ่งก็จะมี Filter ให้เราค้นหาตามหมวดหมู่ ราคา หรือเงื่อนไขอื่นๆ ตามต้องการ

search-filter-themeforest

เราสามารถดู Popular Items เพื่อดูว่าธีมไหนกำลังเป็นที่นิยมได้ที่เมนู WordPress > Pupular Items ก็จะแสดงธีมที่มีจำนวนซื้อสูงๆ ของแต่ละสัปดาห์ค่ะ เช่น Avada, X | The Theme, Enfold, The7, BeTheme, Newspaper, Total, Jupiter, Sahifa เหล่านี้คือเห็นอยู่เสมอ ด้านขวาก็จะแสดงผู้เขียนธีมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเดือน และถ้าเราชี้เม้าส์ไปที่ธีมไหน ก็จะมีภาพพรีวิวรายละเอียดขึ้นมาค่ะ

themeforest-popular-items

คลิกที่โลโก้ของแต่ละธีมเพื่อเข้าดูรายละเอียดทั้งหมดของธีมได้เลย ยกตัวอย่างธีม Newspaper ซึ่งเป็นธีมแนวข่าวที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เว็บไทยก็เห็นบ่อยๆ ค่ะ

newspaper-page

ที่ด้านซ้ายบน จะเป็นชื่อธีมนะคะ ส่วนด้านขวาบนก็จะเป็นราคา ซึ่งถ้าเป็นธีมนี้ก็คือ $59 เราสามารถเลือก Licence ได้ว่าจะซื้อแบบ Regular License หรือ Extended License ซึ่งราคาและรายละเอียดก็จะต่างกันออกไป โดยเราจะได้รับการ Support หรือความช่วยเหลือต่างๆ หากมีปัญหาจากผู้เขียนธีมซึ่งสำหรับธีมนี้ก็คือ tagDiv เป็นระยะเวลา 6 เดือน เราสามารถที่จะดูตัวอย่างของธีมก่อนได้ที่ปุ่ม Live Preview

 

บทความที่แนะนำให้อ่าน : ประเภทของธีมและการเลือกใช้ธีม WordPress

 

เรา สามารถดูการโต้ตอบของผู้เขียนกับผู้ซื้อได้จากแท็บ Comments หากเราซื้อธีมเรียบร้อยแล้วก็สามารถที่จะใช้บริการ Support ได้ด้วยการลงทะเบียนที่แท็บ Support ซึ่งต้องใช้รหัส License ในการลงทะเบียนเพื่อแสดงตัวว่าเราซื้อแล้ว โดยปกติผู้เขียนจะช่วยซัพพอร์ตในกรณีที่ธีมมีปัญหา หรือเราตั้งค่าบางอย่างไม่เป็น แต่จะไม่รวมไปถึงการปรับแต่ง แก้โค้ด หรือติดตั้งต่างๆ นะคะ เป็นเพียงการซัพพอร์ตไม่ได้ถือว่าเราจ้างเขาเขียนให้เราส่วนตัว

เมื่อเราเลื่อนลงมาก็จะเจอกับฟีเจอร์ต่างๆ ของธีมค่ะ เป็นการแนะนำว่าธีมนี้มีคุณสมบัติอะไรที่น่าสนใจบ้าง

featured-theme

เรา สามารถที่จะดูจำนวนการขายทั้งหมดของธีมนี้ หรือเรตติ้งจากผู้ซื้อคนอื่นๆ ได้ที่ด้านขวามือ ต่อจากรายละเอียดของผู้เขียนธีม อยากรู้ยอดขายจริงๆ ก็ลองเอาราคา x จำนวนที่ขายได้ดูนะคะ ก็โอเคนะ ฮ่าๆ รายได้ยังต้องแบ่งกับ Themeforest อีกส่วนหนึ่งเป็นเหมือนค่าเช่าที่ห้างนั่นเอง

total-sale

ถัด กันลงมา ก็จะเป็นรายละเอียดอื่นๆ เช่น สร้างเมื่อไหร่ อัพเดตล่าสุดเมื่อไหร่ รองรับบราวเซอร์อะไรได้บ้าง สามารถทำงานร่วมกับปลั๊กอินตัวไหน (เน้นปลั๊กอินระบบใหญ่ เช่น BuddyPress และ bbPress ทำเว็บบอร์ด, WooCommerce ทำร้านค้า)

detail-newspaper

หากเราต้องการซื้อธีมนี้ ก็สามารถคลิกที่ปุ่ม Add to Cart ก่อนก็ได้ ระบบก็จะทำการเพิ่มธีมนี้ไปยังคลังสินค้าของเรา เราสามารถเลือกสินค้าอื่นๆ หรือดูรายละเอียดอื่นๆ ต่อได้ด้วยการคลิกที่ Keep Browsing ระบบก็จะนำเรากลับมายังหน้าเดิม ต่างจากการคลิกที่ปุ่ม Buy Now ก่อนหน้านี้ ระบบจะนำเราไปคิดเงินเลยค่ะ แต่หากเลือกของเป็นชิ้นสุดท้ายแล้ว จะไปจ่ายเงิน ก็ให้คลิกที่ปุ่ม Go to Checkout

add-to-cart-themeforest

ก่อน จะ Go to Checkout เรายังสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงรายละเอียด เช่น เปลี่ยน License เพิ่มระยะเวลา Support ด้วยการคลิกที่ลิงค์ Change details

change-details-newspaper

License

ทีนี้จะพูดถึงเรื่อง License หรือสิทธิ์การใช้งานสำหรับธีมที่ซื้อจาก Themeforest นะคะ License จะมีอยู่ 2 แบบ นั่นก็คือ Regular License และ Extended License ทั้ง 2 แบบนี้ อนุญาติให้มีสิทธิ์ใช้โดยคนคนเดียว ไม่ว่าเราจะใช้เอง หรือเราทำเว็บให้ลูกค้า You or one client ถ้าเราทำเว็บให้ลูกค้า ก็ถือว่าลูกค้าเป็นคนถือ License ดังนั้นเราจะนำไปใช้กับลูกค้าคนอื่นอีกไม่ได้ และต้องเป้น Single end product คือเป็นโปรดักส์เดียวเท่านั้น ถ้าหมายถึงธีม โปรดักส์ก็คือเว็บที่ทำเสร็จแล้วนั่นเองค่ะ

ไม่ว่าจะ Regular License หรือ Extended License ก็สามารถใช้ทำเว็บได้เพียงเว็บเดียวเท่านั้น

สิ่งที่ต่างกันนอกจากราคาแล้ว สำหรับ 2 License นี้ก็คือ คำว่า end users are not กับ can be charged for นั่นเองค่ะ

license-themeforest

ปกติ แล้วสำหรับธีม WordPress นั้นเราจะใช้เป็น Regular Licese อยู่แล้วค่ะ ทำเว็บนึงก็ซื้อทีนึง เพราะเว็บถือเป็น end product และไม่มีการนำไปทำเป็นสินค้าเพื่อขายหรือบริการอยู่แล้ว ทำให้ลูกค้ามันก็เป็นของลูกค้า มันจะจำเป็นต้องใช้ Extended License ก็ต่อเมื่อ เราทำเป็นโปรดักส์ที่มีการชาร์จเงินจาก end users (ผู้ใช้งานเว็บเราหรือเว็บของลูกค้าเรา) เช่น เราทำเว็บ (ของเรา) หรือ ทำเว็บให้ลูกค้า แต่เว็บนั้นเป็นเว็บที่ให้บริการทำเว็บไซต์สำเร็จรูปรายปี อย่าง wordpress.com หรือ wix.com ซึ่งจะมีเทมเพลตให้เลือกมากมาย หากเราต้องการซื้อธีมนี้ไปสำหรับให้ลูกค้าของเราหรือของพวกเขาใช้บริการ โดยคิดค่าบริการรายปี ก็เท่ากับว่าได้มีการชาร์จเงินเกิดขึ้นกับ end users ดังนั้น ในกรณีแบบนี้เท่านั้นเราจึงจะต้องการ Extended License ไม่ใช่ว่าจะซื้อ Extended License เพื่อจะนำไปใช้ทำเว็บกี่เว็บก็ได้ ผิดค่ะ ใช้ได้แค่กับเว็บเดียวโดนเมนเดียวเท่านั้นเหมือนกันค่ะ (ไม่นับเว็บทดลองหรือ Localhost ที่ยังไม่ถือว่าเป็น end product)

If I purchase an Extended License, do I get a multi-use, multi-domain, multi-client or developer license?

No. The Extended License is still limited to a single end product, but you can re-sell that product. The few exceptions are images from PhotoDune, and Tools (which allow multiple use and have their own license). Additionally our SFX and Video Media Licenses offer a multi-use option. See “Permitted Multi-Use” FAQ section for more details.


Example: You cannot buy a WordPress theme once and use it for more than one client


Example: A website theme can only be customized to create one customized website. If you want to create a second website from the same theme, you should purchase another license.


เรา มาดูรายละเอียดของ Extended กันเพิ่มอีกหน่อย เพราะรู้สึกว่าหลายๆ คนยังเข้าใจผิด กรณีของธีมจะไม่ชัดเจน เพราะจริงๆ แล้วธีมแทบไม่จำเป็นต้องใช้ Extended License สำหรับการทำเว็บทั่วไป มาดูกรณีอื่นกันดีกว่าค่ะ

Extended สำหรับ Icon คือการที่เราซื้อไอคอนไปทำแอปแอปนึง แอปตัวนี้ถือเป็น end product นะคะ แต่เมื่อมีการขายแอป ก็เท่ากับว่า end uses นั้น ถูก charged คือถูกเก็บค่าบริการ ดังนั้นแบบนี้จำเป็นต้องใช้ Extended License แต่ถ้าแอปนั้นสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องเสียค่าบริการก่อน ก็ใช้เพียงแค่ Regular License ก็ได้ค่ะ

Extended สำหรับ Graphic เช่น เราซื้อภาพกราฟฟิกอาร์ตไปสกรีนลายเสื้อ เสื้อถือว่าเป็น single end product ค่ะ แม้ว่าจะขายหลายตัวก็ตาม กรณีนี้เราทำเสื้อขาย เราต้องซื้อ Extended License ค่ะ แต่ตราปใดที่ end users ไม่ได้ถูกชาร์จค่าบริการ เช่น คุณทำป้ายโฆษณานิทรรศการหนึ่ง ซื้อแม้นิทรรศการนั้นเก็บค่าเข้าชม แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ Extended Licese เพราะ end product ในที่นี้คือป้ายโฆษณา ไม่ใช่นิทรรศการ เช่นเดียวกันกับถ้าคุณเอาไปทำเป็นโลโก้สินค้า หนึ่งโลโก้สามารถใช้ได้กับสินค้าไม่จำกัด เพราะในที่นี้โลโก้ก็คือตัว end product แต่ไม่ใช่ว่าสามารถจะนำเทมเพลตของโลโก้ที่ซื้อมารอบเดียวไปทำเป็นโลโก้ 4-5 แบบได้เพราะแบบนี้ไม่ถือว่าเป็น single end แล้ว (single = 1) อันนี้ต้องซื้อ 1 อันต่อ 1 โลโก้ 5 โลโก้ก็ต้องซื้อแบบ Regular 5 ครั้ง

Plugins ใน ส่วนของ Plugins นั้นระหว่าง Regular License กับ Extended License จะค่อนข้างชัดเจนกว่าธีมมาก ในกรณีที่เราทำเว็บ 1 เว็บ เว็บนี้ถือเป็น single end product เรียบร้อยแล้ว เราสามารถที่จะใช้ปลั๊กอินที่ซื้อมากับเว็บนี้ได้เว็บเดียว หากเราจะใช้กับเว็บอีกเว็บหนึ่งก็ต้องซื้ออีกรอบ

กรณีไหนที่เราจำเป็นจะต้องใช้ Extended License สำหรับปลั๊กอิน?

กรณี ที่ single end product ของเราไม่ใช่เว็บ แต่เปลี่ยนเป็นสินค้าอย่างอื่นที่ต้องการนำไปขาย เช่น เราต้องซื้อแบบ Extended License หากเราเป็นคนเขียนธีม แล้วธีมนั้นเป็นธีมที่มีไว้ขาย ตัว single end product ในที่นี้คือธีม ไม่ใช่เว็บและจะต้องเป็นธีมเดียวเท่านั้น ธีมเดียวแต่คนโหลดเป็นแสนก็คือธีมเดียวนะคะ อย่าเข้าใจผิดไปนับจำนวนคนใช้กับจำนวนธีม ในกรณีนี้เมื่อปลั๊กอินถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของธีมที่ end users คือคนที่ดาวน์โหลดธีมของเราจะต้องเสียเงินซื้อธีมที่มีปลั๊กอินนี้อยู่ไป ด้วย กรณีเช่นนี้แหละค่ะที่เราต้องใช้ Extended License เรา จะเห็นกรณีนี้บ่อยๆ เวลาเราซื้อธีมฮิตที่มักจะมีปลั๊กอิน Visual Composer, Slider Revolution ฯลฯ ใส่มาด้วย เป็นต้น และหากเราเขียนธีมอีกธีมขึ้นมาเพื่อทำแบบเดียวกัน เราก็ต้องซื้อ Extended อีกรอบเหมือนเวลาเราใช้ Regular License ที่ซื้อเว็บต่อเว็บ เพราะถ้าใช้กับธีมใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมา มันจะกลายเป็น another end products ซึ่ง License จะไม่ครอบคลุมแล้วค่ะ เขามีแค่ Single end product

หรือ อีกกรณีหนึ่ง เช่น เราซื้อปลั๊กอินทำเว็บบอร์ดไปลงในเว็บ แต่เว็บบอร์ดนั้นต้องจ่ายค่าสมาชิกก่อน จึงจะสามารถที่จะเข้าถึงได้ แบบนี้ถือว่าต้องใช้ Extended License ค่ะ ส่วนปลั๊กอินอื่นที่อยู่ในส่วนของฟรี ใครๆ ก็เข้าดูได้ ก็ใช้ Regular License ตามปกติ

เพิ่มเติม http://themeforest.net/licenses/faq

การจ่ายเงิน

Themeforest นั้นมีการจ่ายเงิน 2 แบบ คือ จ่ายตรงเลยทีเดียว ใช้ Paypal ซึ่งสามารถจ่ายด้วยบัตรเครดิตได้ กับอีกแบบก็คือ Envato Credit แบบนี้คือการเติมเงินเข้าระบบของ Envato ก็จะหักเงินจากที่เราเติมเข้าไปนี้เวลาซื้อสินค้าค่ะ ซึ่งแบบนี้จะดีตรงที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มให้ Paypal $2 ในแต่ละการซื้อสินค้านั่นเอง โดยเราจะได้รับลิงค์สำหรับการดาวน์โหลดหลังจากจ่ายเงินเสร็จเรียบร้อย หรือล็อกอินเข้าไปก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่แอคเค้าของเราเองค่ะ

themeforest-payment

themeforest-download

การสร้างรายได้กับ Envato

นอกจากเราจะต้องเป็น Author เพื่อสร้างสินค้าขึ้นขายบน Themeforest แล้ว เรายังสามารถที่จะหารายได้จาก Envato ด้วยการโปรโมทสินค้าของ Envato ไม่ว่าจะเป็นธีม ปลั๊กอิน วิดีโอ สคริปต์อื่นๆ ได้ ด้วยการใช้ Affiliate Link ของเราเอง ทุกการขายที่เกิดขึ้น เขาก็จะแบ่งค่าคอมมิชชั่นให้กับเราจำนวน 30% ค่ะ

การ ใช้ Affliate Link นั้นก็ง่ายๆ ค่ะ เพียงเติม /?ref=username ต่อหลัง url ของสินค้านั้นๆ ก็เป็นอันใช้ได้แล้วค่ะ สมมุติว่า envato user ของเราชื่อ myid แล้ว Newspaper Theme มี URL เป็น

http://themeforest.net/item/newspaper/5489609

ดังนั้น Affiliate Link ที่เราจะนำไปแชร์ก็คือ

http://themeforest.net/item/newspaper/5489609/?ref=myid

โดยรายละเอียดสามารถดูได้ที่หน้า Become Affiliate

affiliate-themeforest

จริงๆ แล้วมีคนไทยที่สร้างรายได้จากการเป็น Author เขียนธีมขายบน Themeforest หลายคนเหมือนกัน ปี 2012 มีคนนึงที่ดังทำรายได้เกิน $1,000,000 เป็นคนที่ 2 ของ Themeforest เลยทีเดียว ไม่ใช่ธรรมดาเลยค่ะ คือคุณ peerapong (ตอนนี้เปลี่ยนเป็น Themegood ) นับเป็นแรงบันดาลใจที่ดีสำหรับคนที่จะเอาเป็นเยี่ยงอย่างค่ะ

peerapongอ่านบทความ

ข้อดีข้อเสียของ Themeforest

ข้อดี

  • ไม่ต้องจ่ายรายปี ซื้อครั้งเดียวจบ อัพเดตได้ตลอด
  • มีธีมให้เลือกเยอะที่สุด
  • หลากหลายดีไซน์เพราะหลายนักออกแบบ
  • ค้นหาธีมตามหมวดหมู่ได้ง่าย
  • มีหลายราคา ไม่บังคับซื้อทีละหลายธีมเป็นแพกเกจ

ข้อเสีย

  • ใช้ได้ 1 ธีม/เว็บเท่านั้น เหมาะสำหรับคนที่ทำเว็บตัวเองคนเดียว หรือคนที่รับทำเว็บก็ต้องซื้อธีมใหม่ให้ลูกค้าทุกครั้ง
  • Support ฟรีแค่ 6 เดือน ถ้าอยากเพิ่มต้องซื้อเอา ซึ่งปกติเจ้าอื่นจะ support ให้ตลอดอายุการเป็นสมาชิกของธีมนั้นๆ
  • เนื่อง จากมีผู้เขียนและออกแบบหลายคน ทำให้ระบบของธีมไม่เหมือนกันเลย การเปลี่ยนธีมก็จะต้องเริ่มศึกษาใหม่ทุกครั้ง (ซึ่งส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างซับซ้อน)

แหล่งซื้อธีมอื่นๆ

Themeforest นั้นเป็นเพียงตลาดกลางขายธีมแห่งหนึ่งเท่านั้น ยังมีเว็บมากมายที่สร้างขึ้นโดยผู้เขียนธีมสร้างเพื่อขายธีมของตัวเองโดย เฉพาะ เว็บเหล่านี้มักจะไม่จำกัดจำนวนใช้งานของเว็บที่เราต้องการจะสร้างค่ะ หมายความว่าเราจะใช้ธีมสร้างเว็บให้กับลูกค้ากี่เว็บก็ได้ และส่วนใหญ่ยังขายแบบเป็น Plan หรือ Package โดยขายเหมารวมทั้งเว็บ ในราคาที่เฉลี่ยแล้วจะถูกมากๆ ในขณะที่บางเจ้าก็ยังคงไว้ทั้ง 2 แบบทั้งแบบเดี่ยวและแบบยกชุด เป็นต้น (แต่บางคนอาจจะอยากได้แค่ธีมเดียว อันนี้ก็เป็นข้อเสียเช่นกัน แต่ราคาธีมเดียวก็มักจะไม่ต่างกันมาก) เช่น

 

การตั้งค่า Widget บน WordPress By Wpthaiuser.com

วิดเจ็ต (Widget) คือ ส่วนขยายที่ช่วยให้เราสามารถแสดงข้อมูลที่ต้องการไว้บน sidebar ได้ เช่น หมวดหมู่ แท็ก หน้า รูปภาพ Facebook และอื่นๆ แล้วแต่ว่าเราอยากจะให้แสดงอะไร บางอย่างก็เพิ่มมาจากปลั๊กอินที่ติดตั้งก็มีค่ะ

ใน รูปด้านบนจะเห็นว่าเรามี Sidebar 2 ตำแหน่งด้วยกัน คือด้านขวา อันนี้เรียกว่าและด้านล่าง ปกติด้านล่างนี้จะเรียกว่า Footer sidebar (พื้นที่ขอบล่าง) และกล่องต่างๆ ที่อยู่ข้างในเหล่านั้นก็คือ วิดเจ็ต นี้เอง Footer Sidebar จะต่างจาก Sidebar ปกติคือ แต่ละช่องจะถือว่าเป็นหนึ่ง sidebar อย่างในรูปนับจากซ้ายไปขวาก็จะเป็น Footer 1, Footer 2, Footer 3, Footer 4 เป็นต้น

เราสามารถเพิ่มวิดเจ็ตได้ด้วยการไปที่เมนู รูปแบบบล็อก > วิดเจ็ต (Appearance > Widgets) จากนั้นคลิกวิดเจ็ตที่ต้องการจากแล้วเลือกว่าจะใช้วิดเจ็ตนี้ที่ sidebar ไหน แล้วคลิกที่ปุ่ม เพิ่มวิดเจ็ต วิดเจ็ตก็จะถูกเพิ่มไปยังตำแหน่งที่เราเลือก

meta-sidebar

จากนั้นคลิกที่วิดเจ็ตที่เราเพิ่มไปบน sidebar แล้วทำการตั้งค่าตามที่ต้องการ แต่ละตัวก็มีการตั้งค่ามากน้อยต่างกันไป

meta-title

เราสามารถที่จะคลิกเพื่อลากวิดเจ็ตสลับตำแหน่งได้ ลากข้าม sidebar ก็ได้

drag-widget

วิดเจ็ตจะถูกบันทึกโดยอัตโนมัติและเราสามารถดูที่หน้าเว็บได้เลย

อีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถใช้เพิ่มวิดเจ็ตได้ก็คือ การใช้เมนู Customize (รูปแบบบล็อก > ปรับแต่ง หรือคลิก ปรับแต่ง บนทูลบาร์เวลาอยู่ที่เว็บด้านหน้าก็ได้) ซึ่งจะแสดงให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เลย

widget-customize

สามารถแทรกโค้ดที่ Sidebar ได้โดยเพิ่ม Text widget (ข้อความ) ไปที่ sidebar ที่ต้องการ

 

แหล่งที่มา http://www.wpthaiuser.com/widget/